การกำกับดูแลใน Tableau
เนื้อหานี้เป็นส่วนหนึ่งของ Tableau Blueprint ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์กที่สมบูรณ์ซึ่งช่วยให้คุณสามารถขยายและปรับปรุงวิธีที่องค์กรของคุณใช้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นผลลัพธ์ เพื่อเริ่มต้นการเดินทางของคุณ โปรดทำการประเมิน(ลิงก์จะเปิดในหน้าต่างใหม่)
การกำกับดูแลใน Tableau เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสำหรับการกระตุ้นให้ใช้งานและปรับใช้การวิเคราะห์ไปพร้อมๆ กับการรักษาความปลอดภัยและความถูกต้องของข้อมูล คุณต้องกำหนดมาตรฐาน กระบวนการ และนโยบายในการจัดการข้อมูลและเนื้อหาให้ปลอดภัยโดยตลอดทุกขั้นตอนใน Modern Analytics Workflow และสิ่งที่สำคัญพอๆ กับการกำหนดรายการต่างๆ ดังกล่าวก็คือ การทำให้ทุกคนในเวิร์กโฟลว์เข้าใจและปฏิบัติตาม เพื่อให้ผู้ใช้เชื่อถือและมั่นใจในการวิเคราะห์ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
ในการกำหนดโมเดลการกำกับดูแลของ Tableau คุณควรทำงานในด้านของการกำกับดูแลข้อมูลและเนื้อหาอย่างถี่ถ้วนตามที่ได้สรุปข้อมูลสำคัญไว้ในไดอะแกรมด้านล่างนี้โดยใช้ตัววางแผน Tableau Blueprint
การกำกับดูแลข้อมูลใน Tableau
วัตถุประสงค์ของการกำกับดูแลข้อมูลใน ขั้นตอนการวิเคราะห์สมัยใหม่ คือการตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับคนที่เหมาะสมในองค์กร ณ เวลาที่ต้องการ เวิร์กโฟลว์นี้จะสร้างความรับผิดชอบและสนับสนุนการเข้าถึงเนื้อหาที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้ทุกระดับทักษะในองค์กรของคุณแทนการจำกัดการเข้าถึง
การจัดการแหล่งข้อมูล
การจัดการแหล่งข้อมูลรวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเลือกและการแจกจ่ายข้อมูลภายในองค์กรของคุณ Tableau เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มข้อมูลองค์กรของคุณและใช้ประโยชน์จากการกำกับดูแลที่คุณได้นำไปใช้กับระบบเหล่านี้อยู่แล้ว ในสภาพแวดล้อมของการบริการตนเอง ผู้เขียนเนื้อหาและผู้ดูแลข้อมูลจะมีความสามารถในการเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลต่างๆ สร้างและเผยแพร่แหล่งข้อมูล เวิร์กบุ๊ก และเนื้อหาอื่นๆ หากไม่มีกระบวนการเหล่านี้ แหล่งข้อมูลซ้ำจะเพิ่มทวีและทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน มีแนวโน้มที่จะเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น และเปลืองทรัพยากรระบบ
สถาปัตยกรรมข้อมูลแบบไฮบริดของ Tableau มีโหมดสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลสองโหมด โดยใช้การการค้นหาแบบสดหรือการแยกข้อมูลในหน่วยความจำ การสลับระหว่างสองโหมดนี้ง่ายพอๆ กับการเลือกตัวเลือกที่เหมาะกับกรณีการใช้งานของคุณ กรณีการใช้งานแบบสดและแยกข้อมูล ผู้ใช้อาจเชื่อมต่อกับตาราง มุมมอง และขั้นตอนการจัดเก็บของคลังข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องทำงานเพิ่มเติม
การค้นหาแบบสดเหมาะสำหรับกรณีที่คุณได้ลงทุนในฐานข้อมูลด่วนไปแล้ว ต้องการข้อมูลที่อัปเดตทุกนาที หรือใช้ Initial SQL การแยกข้อมูลในหน่วยความจำควรใช้เมื่อฐานข้อมูลหรือเครือข่ายช้าเกินไปสำหรับการค้นหาแบบอินเทอร์แอคทีฟ การนำโหลดออกจากฐานข้อมูลธุรกรรม หรือเมื่อต้องเข้าถึงข้อมูลแบบออฟไลน์
ด้วยการรองรับเลเยอร์ตรรกะแบบหลายตารางและความสัมพันธ์ใน Tableau 2020.2 ผู้ใช้จะไม่ถูกจำกัดให้ใช้ข้อมูลจากตารางเดียวแบบแฟลตที่ไม่จัดเรียงตามปกติในแหล่งข้อมูล Tableau ซึ่งในปัจจุบันสามารถสร้างแหล่งข้อมูลแบบหลายตารางด้วยความสัมพันธ์ที่ตระหนักถึง LOD และมีความยืดหยุ่นระหว่างตาราง โดยไม่ต้องระบุประเภทการรวมในการคาดการณ์ว่าจะมีการถามคำถามใดบ้างเกี่ยวกับข้อมูล ด้วยการรองรับหลายตาราง แหล่งข้อมูลของ Tableau จึงสามารถนำเสนอแบบจำลองข้อมูลองค์กรที่พบบ่อยโดยตรง เช่น สคีมาดวงดาวและหิมะตก ตลอดจนแบบจำลองหลายข้อเท็จจริงที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยจะมีการรองรับรายละเอียดหลายระดับในแหล่งข้อมูลเดียว ดังนั้นแหล่งข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำเสนอข้อมูลเดียวกันจึงมีจำนวนน้อยลง ความสัมพันธ์จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าการรวมฐานข้อมูล และสามารถรองรับกรณีการใช้งานเพิ่มเติมได้หากเกิดขึ้น จึงช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องสร้างแบบจำลองข้อมูลใหม่สำหรับตอบคำถามใหม่ๆ การใช้ความสัมพันธ์ในสคีมาที่จัดโมเดลไว้เป็นอย่างดี จะช่วยลดทั้งเวลาในการสร้างแบบจำลองข้อมูลและจำนวนของแหล่งข้อมูลที่ต้องใช้ในการตอบคำถามทางธุรกิจ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูการจัดการเมตาดาต้า ในตอนหลังของส่วนนี้และแบบจำลองข้อมูล Tableau
เมื่อเผยแพร่เวิร์กบุ๊กไปยัง Tableau Server หรือ Tableau Cloud ผู้เขียนจะมีตัวเลือกว่าจะเผยแพร่แหล่งข้อมูลหรือปล่อยให้ฝังอยู่ในเวิร์กบุ๊ก กระบวนการจัดการแหล่งข้อมูลที่คุณกำหนดจะกำกับดูแลการตัดสินใจนี้ เซิร์ฟเวอร์ข้อมูลของ Tableau ซึ่งเป็นส่วนประกอบในตัวของแพลตฟอร์ม Tableau จะช่วยให้คุณสามารถแชร์และนำแบบจำลองข้อมูลมาใช้ใหม่ รักษาความปลอดภัยให้กับวิธีที่ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูล รวมถึงจัดการและรวบรวมการแยกข้อมูลเข้ากับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ นอกจากนี้แหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ยังอนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์การใช้งานระดับ Creator และ Explorer ของ Tableau เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ใน Tableau สำหรับการเขียนเว็บและ "สอบถามข้อมูล" สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ แก้ไขมุมมองบนเว็บ และปรับข้อมูลให้เหมาะสมกับ "สอบถามข้อมูล"
ความสามารถในการสำรวจข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ทำให้ Tableau Catalog สามารถจัดทำดัชนี้สำหรับเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเวิร์กบุ๊ก แหล่งข้อมูล และโฟลว์ที่จะช่วยให้ผู้เขียนสามารถค้นหาฟิลด์ คอลัมน์ ฐานข้อมูล และตารางในเวิร์กบุ๊กและแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูการจัดการข้อมูล
เมื่อเปิดใช้งาน Tableau Catalog ผู้เขียนเนื้อหาจะสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยการเลือกจากแหล่งข้อมูล ฐานข้อมูล และไฟล์ หรือตารางและออกเจ็กต์เพื่อดูว่าอยู่ใน Tableau Server และ Tableau Cloud หรือไม่ และลดแหล่งข้อมูลซ้ำให้น้อยที่สุด
นอกจากนี้ แท็บรายละเอียดข้อมูลบนมุมมองที่เผยแพร่ไปยัง Tableau Server และ Tableau Cloud จะมอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ใช้ให้แก่ผู้บริโภคข้อมูลด้วย รายละเอียดจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเวิร์กบุ๊ก (ชื่อ, ผู้เขียน, วันที่ปรับแก้) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในมุมมอง และรายการฟิลด์ที่ใช้งาน
สำหรับผู้ดูแลข้อมูลที่สร้างแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่แล้วแหล่งใหม่ เวิร์กโฟลว์ด้านล่างจะแสดงจุดการตัดสินใจหลัก 2 จุดที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการแหล่งข้อมูล แบบสดหรือการแยกข้อมูล และฝังหรือแชร์แบบจำลองข้อมูล แต่ไม่ได้หมายความว่ากระบวนการสร้างโมเดลที่เป็นทางการจะต้องเกิดขึ้นก่อนที่การวิเคราะห์จะเริ่มขึ้นเสมอไป
หากต้องการค้นพบและให้ความสำคัญกับแหล่งข้อมูลหลัก ให้ใช้แท็บแบบสำรวจข้อมูลและการวิเคราะห์ของ Tableau และกรณีการใช้งานและแหล่งข้อมูลของ Tableau ในตัววางแผน Tableau Blueprint
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญในการจัดการแหล่งข้อมูล
- แหล่งข้อมูลหลักของแผนกหรือทีมคืออะไร
- ใครคือผู้ดูแลข้อมูลหรือเจ้าของข้อมูล
- คุณจะเชื่อมต่อแบบสดหรือแยกข้อมูล
- ควรฝังแหล่งข้อมูลหรือเผยแพร่ข้อมูล
- ชุดข้อมูลมีตัวแปรหรือไม่ หากมี สามารถรวมเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่
- หากมีการรวมแหล่งข้อมูลหลายแหล่งเข้าด้วยกันแล้ว ประสิทธิภาพหรืออรรถประโยชน์ของแหล่งข้อมูลเดียวได้รับผลกระทบจากการพยายามตอบสนองต่อกรณีการใช้งานหลายกรณีพร้อมกันหรือไม่
- คำถามทางธุรกิจที่จำเป็นต้องตอบโดยใช้แหล่งข้อมูลมีอะไรบ้าง
- แหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ใช้กฎอะไรในการตั้งชื่อ
คุณภาพข้อมูล
คุณภาพข้อมูล เป็นการวัดความสมบูรณ์ของข้อมูลเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ในบริบทที่ระบุ ในกรณีนี้จะมีไว้เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ คุณภาพข้อมูลกำหนดโดยปัจจัยต่างๆ เช่น ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความน่าเชื่อถือ ความเกี่ยวข้อง และความทันสมัย คุณน่าจะมีกระบวนการสำหรับตรวจสอบคุณภาพข้อมูลขณะนำเข้าจากระบบต้นทางอยู่แล้ว และยิ่งถ้ามีการแก้ไขปัญหาในกระบวนการอัปสตรีมมากเท่าใด การแก้ไขให้ถูกต้องก็จะยิ่งน้อยลงในช่วงเวลาของการวิเคราะห์ คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณภาพข้อมูลมีความสม่ำเสมอตลอดทางไปจนถึงการบริโภคข้อมูล
ขณะที่คุณวางแผน เป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการทบทวนการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลอัปสตรีมที่มีอยู่ เนื่องจากข้อมูลจะพร้อมใช้งานสำหรับกลุ่มผู้ใช้ขนาดใหญ่ภายใต้โมเดลของการบริการตนเอง นอกจากนี้แล้ว Tableau Prep Builder และ Tableau Desktop เป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมสำหรับการตรวจหาปัญหาคุณภาพข้อมูล การกำหนดกระบวนการรายงานปัญหาคุณภาพข้อมูลให้ทีม IT หรือผู้ดูแลข้อมูลทราบ จะทำให้คุณภาพข้อมูลกลายเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจในข้อมูล
เมื่อใช้ Tableau Data Management และ Tableau Catalog คุณควรสื่อสารปัญหาคุณภาพข้อมูลให้ผู้ใช้ของคุณทราบเพื่อเพิ่มการมองเห็นและความน่าเชื่อถือของข้อมูล เมื่อพบปัญหา คุณสามารถกำหนดข้อความเตือนเกี่ยวกับชุดข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าวตระหนักถึงปัญหาบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่ายังไม่มีการรีเฟรชข้อมูลในช่วงสองสัปดาห์นี้ หรือเลิกใช้งานแหล่งข้อมูลแล้ว คุณสามารถกำหนดคำเตือนเกี่ยวกับคุณภาพของข้อมูลต่อชุดข้อมูลได้ เช่น แหล่งข้อมูล ฐานข้อมูล โฟลว์ หรือตาราง หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูตั้งค่าคำเตือนเกี่ยวกับคุณภาพของข้อมูล รวมถึงประเภทต่อไปนี้: คำเตือน เลิกใช้งาน ข้อมูลเก่า และอยู่ระหว่างการบำรุงรักษา
โปรดทราบว่าคุณสามารถกำหนดคำเตือนเกี่ยวกับคุณภาพของข้อมูลโดยใช้ REST API ได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูเพิ่มคำเตือนเกี่ยวกับคุณภาพของข้อมูลใน Tableau REST API Help
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับคุณภาพข้อมูล
- กระบวนการใดมีไว้เพื่อรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความน่าเชื่อถือ และความสัมพันธ์กัน
- คุณสร้างรายการตรวจสอบสำหรับนำกระบวนการไปใช้งานแล้วหรือยัง
- ใครที่จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะแชร์ได้และมีความน่าเชื่อถือ
- กระบวนการของคุณปรับได้หรือไม่สำหรับผู้ใช้ธุรกิจ และพวกเขาสามารถร่วมมือกับเจ้าของข้อมูลในการรายงานปัญหาได้หรือไม่
การเพิ่มความสมบูรณ์และการจัดเตรียม
การเพิ่มความสมบูรณ์และการจัดเตรียมมีกระบวนการที่ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับ หรือจัดเตรียมข้อมูลดิบสำหรับการวิเคราะห์ แหล่งข้อมูลเดียวมักจะไม่สามารถตอบได้ทุกคำถามที่ผู้ใช้อาจมี การเพิ่มข้อมูลจากแหล่งที่มาต่างๆ จะเพิ่มบริบทที่มีคุณค่า คุณน่าจะมีกระบวนการ ETL อยู่แล้วในการล้าง นำมารวมกัน รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลเมื่อนำเข้าข้อมูลดิบจากแหล่งต่างๆ อินเทอร์เฟซบรรทัดคำสั่งและ API จะช่วยให้คุณสามารถผสานรวม Tableau เข้ากับกระบวนการที่มีอยู่ของคุณได้
สำหรับการเตรียมข้อมูลการบริการตนเอง ควรใช้ Tableau Prep Builder และ Tableau Prep Conductor ในการรวมแหล่งข้อมูลหลายแหล่งเข้าด้วยกันและทำให้เป็นระบบอัตโนมัติตามกำหนดเวลา Tableau Prep มีเอาต์พุตหลายประเภทสำหรับ Tableau Server หรือ Tableau Cloud รวมถึง CSV, Hyper และ TDE (เวอร์ชัน 2024.2 และก่อนหน้า) หรือแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ เริ่มตั้งแต่เวอร์ชัน 2020.3 เป็นต้นไป เอาต์พุตของ Tableau Prep จะมีตารางฐานข้อมูลที่สามารถบันทึกผลลัพธ์ของโฟลว์ไปยังตารางในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถจัดเก็บและกำกับดูแลข้อมูลที่จัดเตรียมจาก Tableau Prep Builder ไว้ในตำแหน่งที่ตั้งศูนย์กลางและใช้ประโยชน์ในทั่วทั้งองค์กรของคุณ Tableau Prep Builder เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิ์การใช้งาน Tableau Creator ขณะที่ Tableau Prep Conductor เป็นส่วนหนึ่งของ Tableau Data Management Tableau Data Management ช่วยใหัคุณสามารถจัดการข้อมูลในสภาพแวดล้อมการวิเคราะห์ได้ดีขึ้น ตั้งแต่การเตรียมข้อมูลไปจนถึงการทำแค็ตตาล็อก ค้นหา และกำกับดูแล เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการตัดสินใจขับเคลื่อนด้วยข้อมูลน่าเชื่อถือและอัปเดตเสมอ
ข้อเสนอแนะระบบอัจฉริยะแบบเห็นภาพที่ส่งโดยตรงได้ในทุกขั้นตอน จะทำให้ Tableau Prep Builder สามารถช่วยลูกค้าสร้างต้นแบบและจัดเตรียมการแยกแหล่งข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ เมื่อกำหนดและยืนยันขั้นตอนต่างๆ แล้ว ควรเผยแพร่โฟลว์ไปยัง Tableau Server และ Tableau Cloud ที่ซึ่ง Prep Conductor จะเรียกใช้โฟลว์และส่งออกแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ตามกำหนดเวลาที่ระบุ ระบบอัตโนมัติสร้างกระบวนการที่สอดคล้องกัน ลดขั้นตอนที่ต้องทำด้วยตนเองซึ่งจะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ติดตามความสำเร็จ/ล้มเหลว และประหยัดเวลา ผู้ใช้จะมีความมั่นใจในเอาต์พุตเพราะสามารถดูขั้นตอนได้ใน Tableau Server หรือ Tableau Cloud
โฟลว์ของ Tableau Prep
โฟลว์ของ Tableau Prep ใน Tableau Server หรือ Tableau Cloud
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการเพิ่มความสมบูรณ์ของข้อมูล
- การเพิ่มความสมบูรณ์และการจัดเตรียมข้อมูลจะเป็นแบบรวมศูนย์หรือบริการตนเอง
- บทบาทใดในองค์กรที่จะดำเนินการเพิ่มความสมบูรณ์และจัดเตรียมข้อมูล
- ควรใช้เครื่องมือและกระบวนการ ETL ใดในการทำให้การเพิ่มความสมบูรณ์และ/หรือการจัดเตรียมข้อมูลเป็นระบบอัตโนมัติ
- แหล่งข้อมูลใดบ้างที่ให้บริบทที่มีคุณค่าเมื่อนำมารวมกัน
- การรวมแหล่งข้อมูลมีความซับซ้อนเพียงใด
- ผู้ใช้จะสามารถใช้ Tableau Prep Builder และ/หรือ Tableau Desktop ในการรวมชุดข้อมูลหรือไม่
- DBA ได้สร้างฟิลด์การรวมหรือการผสมผสานที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มความสมบูรณ์และจัดเตรียมชุดข้อมูลแล้วหรือยัง
- คุณจะทำให้การเตรียมข้อมูลแบบบริการตนเองใช้งานได้อย่างไร
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญสูงสุดสำหรับทุกองค์กร Tableau อนุญาตให้ลูกค้าสร้างตามการใช้งานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่มีอยู่ ผู้ดูแลระบบ IT มีความยืดหยุ่นในการนำการรักษาความปลอดภัยไปใช้งานภายในฐานข้อมูลที่มีการตรวจสอบสิทธิ์ของฐานข้อมูล หรือภายใน Tableau ที่มีสิทธิ์ต่างๆ หรือแนวทางแบบไฮบริดที่ผสมทั้งสองอย่าง การรักษาความปลอดภัยจะบังคับใช้ไม่ว่าผู้ใช้จะเข้าถึงข้อมูลจากมุมมองที่เผยแพร่บนเว็บ บนอุปกรณ์มือถือ หรือผ่าน Tableau Desktop และ Tableau Prep Builder ลูกค้ามักจะชอบแนวทางแบบไฮบริดเพราะต้องการความยืดหยุ่นในการจัดการกรณีการใช้งานต่างๆ เริ่มจากการสร้างการจำแนกการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อกำหนดประเภทต่างๆ ของข้อมูลและระดับความอ่อนไหวของข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในองค์กรของคุณ
ในการใช้ประโยชน์จากการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบว่าวิธีที่เลือกสำหรับการตรวจสอบสิทธิ์นั้นมีความสำคัญ ระดับของการตรวจสอบสิทธิ์นี้จะแยกออกจากการตรวจสอบสิทธิ์ของ Tableau Server หรือ Tableau Cloud (เมื่อผู้ใช้เข้าสู่ระบบ Tableau Server หรือ Tableau Cloud ผู้ใช้จะยังไม่ได้เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล) ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ Tableau Server และ Tableau Cloud จะต้องมีข้อมูลเข้าสู่ระบบด้วยเช่นกัน (ชื่อผู้ใช้/รหัสผ่านของตนเองหรือชื่อผู้ใช้/รหัสผ่านของบัญชีบริการ) เพื่อเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล แล้วใช้การรักษาความปลอดภัยระดับฐานข้อมูล หากต้องการปกป้องข้อมูลของคุณเพิ่มเติม Tableau จำเป็นต้องใช้เฉพาะข้อมูลเข้าสู่ระบบที่มีสิทธิ์การอ่านเท่านั้นสำหรับฐานข้อมูล เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เผยแพร่เปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานโดยไม่ได้ตั้งใจ หรืออีกทางหนึ่งก็คือ การให้สิทธิ์ผู้ใช้ฐานข้อมูลสร้างตารางชั่วคราวก็อาจมีประโยชน์ในบางกรณี เพราะจะมีข้อได้เปรียบทั้งในด้านประสิทธิภาพและการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากระบบจัดเก็บข้อมูลชั่วคราวไว้ในฐานข้อมูลแทนที่จะเก็บไว้ใน Tableau สำหรับ Tableau Cloud คุณจำเป็นต้องฝังข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อใช้การรีเฟรชอัตโนมัติในข้อมูลการเชื่อมต่อของแหล่งข้อมูล สำหรับแหล่งข้อมูล Google และ Salesforce.com คุณสามารถฝังข้อมูลเข้าสู่ระบบไว้ในรูปแบบของโทเค็นการเข้าถึง OAuth 2.0
การเข้ารหัสการแยกข้อมูลเมื่อจัดเก็บเป็นฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ช่วยให้คุณเข้ารหัสข้อมูลแยก .hyper ขณะที่จัดเก็บไว้ใน Tableau Server ผู้ดูแลระบบ Tableau Server สามารถบังคับให้มีการเข้ารหัสข้อมูลแยกทั้งหมดในไซต์ของตนเอง หรืออนุญาตให้ผู้ใช้ระบุเพื่อเข้ารหัสข้อมูลแยกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบางเวิร์กบุ๊กหรือแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูการเข้ารหัสการแยกข้อมูลเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหว
หากองค์กรของคุณปรับใช้การเข้ารหัสการแยกข้อมูลเมื่อไม่ได้ใช้งาน คุณอาจเลือกกำหนดค่าTableau Server ให้ใช้ AWS เป็น KMS สำหรับการเข้ารหัสแยกได้ หากต้องการเปิด AWS KMS หรือ Azure KMS คุณต้องใช้งาน Tableau Server ใน AWS หรือ Azure ตามลำดับ และได้รับสิทธิ์อนุญาต Advanced Management สำหรับ Tableau Server ในสถานการณ์จำลองของ AWS นั้น Tableau Server ใช้คีย์หลักของลูกค้า AWS KMS (CMK) สร้างคีย์ข้อมูล AWS Tableau Server ใช้คีย์ข้อมูล AWS เป็นคีย์หลักรูทสำหรับการแยกข้อมูลที่เข้ารหัสทั้งหมด ในกรณีของ Azure นั้น Tableau Server จะใช้ Azure Key Vault เพื่อเข้ารหัสคีย์หลักระดับรูท (RMK) สำหรับการแยกข้อมูลที่เข้ารหัสทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการกำหนดค่าสำหรับการผสานรวม AWS KMS หรือ Azure KMS แล้วก็ตาม แต่จะยังคงมีการใช้คีย์สโตร์ของ Java ในระบบและ KMS ในเครื่องเพื่อรักษาความปลอดภัยให้ที่จัดเก็บข้อมูลลับบน Tableau Server โดยจะใช้ AWS KMS หรือ Azure KMS ในการเข้ารหัสคีย์หลักระดับรากสำหรับการแยกข้อมูลที่เข้ารหัสเท่านั้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูระบบการจัดการคีย์
สำหรับ Tableau Cloud ข้อมูลทั้งหมดจะได้รับการเข้ารหัสในขณะที่จัดเก็บเป็นค่าเริ่มต้น แม้ว่าจะใช้ Advanced Management สำหรับ Tableau Cloud คุณก็สามารถควบคุมการหมุนเวียนคีย์และตรวจสอบได้มากขึ้นโดยการใช้คีย์การเข้ารหัสที่ลูกค้าจัดการ คีย์เข้ารหัสที่ลูกค้าจัดการจะทำให้คุณมีการรักษาความปลอดภัยในระดับพิเศษโดยอนุญาตให้คุณเข้ารหัสการแยกข้อมูลของไซต์โดยใช้คีย์ที่กำหนดเฉพาะไซต์ที่ลูกค้าจัดการ อินสแตนซ์ของ Salesforce Key Management System (KMS) จะจัดเก็บคีย์การเข้ารหัสที่กำหนดเฉพาะไซต์ตามค่าเริ่มต้นสำหรับทุกคนที่เปิดใช้งานการเข้ารหัสบนไซต์ กระบวนการเข้ารหัสจะเป็นไปตามลำดับชั้นของคีย์ ขั้นแรก Tableau Cloud จะเข้ารหัสการแยกข้อมูล ถัดไป Tableau Cloud KMS จะตรวจสอบแคชคีย์สำหรับคีย์ข้อมูลที่เหมาะสม หากไม่พบคีย์ ระบบจะสร้างคีย์ดังกล่าวด้วย KMS GenerateDataKey API โดยใช้สิทธิ์ที่ได้รับจากนโยบายคีย์ที่เชื่อมโยงกับคีย์นั้น AWS KMS จะใช้ CMK เพื่อสร้างคีย์ข้อมูลและส่งคืนสำเนาข้อความธรรมดาและสำเนาที่เข้ารหัสไปที่ Tableau Cloud Tableau Cloud จะใช้สำเนาข้อความธรรมดาของคีย์ข้อมูลเพื่อเข้ารหัสข้อมูลและจัดเก็บสำเนาที่เข้ารหัสของคีย์พร้อมกับข้อมูลที่เข้ารหัส
คุณสามารถจำกัดว่าจะให้ผู้ใช้ใดเห็นข้อมูลใดโดยการตั้งค่าตัวกรองผู้ใช้ในแหล่งข้อมูลบน Tableau Server และ Tableau Cloud ซึ่งจะทำให้คุณสามารถควบคุมข้อมูลที่ผู้ใช้จะเห็นในมุมมองที่เผยแพร่ได้ดีขึ้น โดยอิงตามบัญชีตี่ใช้เข้าสู่ระบบ Tableau Server การใช้เทคนิคนี้จะทำให้ผู้จัดการภูมิภาคสามารถดูข้อมูลสำหรับภูมิภาคของตนเองได้ แต่จะไม่สามารถดูข้อมูลสำหรับผู้จัดการภูมิภาคอื่นได้ แนวทางการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถเผยแพร่มุมมองหรือแดชบอร์ดเดียวในรูปแบบที่ให้ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ปลอดภัยและปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคลสำหรับผู้ใช้ในวงกว้างบน Tableau Cloud หรือ Tableau Server สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและจำกัดการเข้าถึงที่ระดับแถวข้อมูล หากคุณให้ความสำคัญสูงสุดกับการรักษาความปลอดภัยกับกรณีการใช้การวิเคราะห์ที่ระดับแถว คุณสามารถใช้ Tableau Data Management เพื่อใช้การเชื่อมต่อเสมือนกับนโยบายข้อมูลเพื่อใช้ตัวกรองตามขนาด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่การเชื่อมต่อเสมือนและนโยบายข้อมูล
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
- คุณจะจำแนกประเภทต่างๆ ของข้อมูลโดยให้สอดคล้องตามความละเอียดอ่อนอย่างไร
- จะส่งคำขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร
- คุณจะใช้บัญชีบริการหรือการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลในการเชื่อมต่อกับข้อมูลหรือไม่
- แนวทางใดที่เหมาะสมต่อการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลโดยสอดคลอ้งกับการจำแนกตามความละเอียดอ่อน
- การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของคุณตรงตามข้อกำหนดของกฎหมาย การปฏิบัติตามข้อบังคับ และกฎระเบียบหรือไม่
การจัดการเมตาดาต้ามีนโยบายและกระบวนการที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึง แชร์ วิเคราะห์ และบำรุงรักษาข้อมูลทั้งองค์กรได้ โดยเป็นส่วนขยายของการจัดการแหล่งข้อมูล เมตาดาต้าเป็นการนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสำหรับธุรกิจภายใต้เงื่อนไขทั่วไป ซึ่งคล้ายกับระดับชั้นความหมาย (Semantic Layer) ในแพลตฟอร์ม BI แบบดั้งเดิม แหล่งข้อมูลที่เรียบเรียงไว้ซ่อนความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมข้อมูลสมัยใหม่ขององค์กรและทำให้ฟิลด์เข้าใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงที่เก็บข้อมูลและตารางที่เป็นแหล่งข้อมูล
Tableau ติดตั้งระบบเมตาดาต้าที่อลังการแต่ไม่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมอบความยืดหยุ่นในการใช้งานให้ผู้ใช้ไปพร้อมๆ กับการอนุญาตให้จัดการเมตาดาต้าขององค์กร สามารถฝังแบบจำลองข้อมูล Tableau ไว้ในเวิร์กบุ๊กหรือจัดการแบบรวมศูนย์ในรูปแบบของแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ด้วยเซิร์ฟเวอร์ข้อมูล หลังจากที่เชื่อมต่อกับข้อมูลและสร้างแบบจำลองข้อมูล Tableau ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่บน Tableau Server หรือ Tableau Cloud แล้ว ให้ดูข้อมูลจากมุมมองของผู้ใช้และดูว่าการวิเคราะห์จะง่ายขึ้นเพียงใดเมื่อมีจุดเริ่มต้นที่จัดรูปแบบมาเป็นอย่างดี มีการกรองและปรับขนาดให้เหมาะกับคำถามทางธุรกิจที่สามารถตอบได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ โปรดดูแบบจำลองข้อมูลของ Tableau แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ และการเปิดใช้การเข้าถึงข้อมูลที่มีการกำกับดูแลด้วย Tableau Data Server
ไดอะแกรมด้านล่างนี้แสดงตำแหน่งขององค์ประกอบในแบบจำลองข้อมูลของ Tableau
เริ่มตั้งแต่เวอร์ชัน 2020.2 เป็นต้นไป แหล่งข้อมูลจะมีการเชื่อมต่อ แอตทริบิวต์การเชื่อมต่อ รวมถึงฟิสิคัลเลเยอร์และเลเยอร์ตรรกะภายในแบบจำลองข้อมูล เมื่อเชื่อมต่อแล้ว Tableau จะกำหนดลักษณะฟิลด์โดยอัตโนมัติเป็นมิติหรือการวัดต่างๆ นอกจากนี้แล้ว แบบจำลองข้อมูลยังจัดเก็บการคำนวณ นามแฝง และการจัดรูปแบบอีกด้วย เลเยอร์กายภาพรวมถึงตารางที่มีอยู่จริงที่กำหนดโดยการรวม การเชื่อม และ/หรือ SQL แบบปรับแต่งเอง แต่ละกลุ่มของตารางที่มีอยู่จริงตั้งแต่หนึ่งตารางขึ้นไปจะกำหนดตารางตรรกะ ซึ่งอยู่ในเลเยอร์ตรรกะร่วมกับความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์เป็นวิธีใหม่ในการสร้างโมเดลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้การรวม ความสัมพันธ์อธิบายว่าสองตารางมีความเกี่ยวข้องกันอยางไร โดยอิงตามฟิล์ดที่มีเหมือนกัน แต่จะไม่รวมตารางเข้าด้วยกันซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการรวม ความสัมพันธ์ทำให้มีข้อได้เปรียบหลายอย่างจากการใช้การรวม
- คุณไม่จำเป็นต้องกำหนดค่าประเภทการรวมระหว่างตาราง คุณแค่ต้องเลือกฟิลด์เพื่อกำหนดความสัมพันธ์
- ความสัมพันธ์จะใช้การรวม แต่จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ความสัมพันธ์เลื่อนการเลือกประเภทการรวมไปเป็นเวลาและบริบทของการวิเคราะห์
- Tableau ใช้ความสัมพันธ์สร้างการรวมที่ถูกต้องและการรวบรวมที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติในระหว่างการวิคราะห์ โดยอิงตามบริบทปัจจุบันของฟิลด์ที่ใช้ในเวิร์กชีต
- รองรับตารางต่างๆ ที่ระดับของรายละเอียดที่แตกต่างกันในแหล่งข้อมูลเดียว ทำให้การใช้แหล่งข้อมูลเพื่อแสดงข้อมูลเดียวกันน้อยลง
- ค่าการวัดผลที่ไม่ตรงกันไม่ลดลง (ไม่มีข้อมูลสูญหายโดยไม่ได้ตั้งใจ)
- Tableau จะสร้างการค้นหาสำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมุมมองปัจจุบันเท่านั้น
ณ เวลาที่เรียกใช้ในโมเดล VizQL จะมีการสร้างหลายคิวรีแบบไดนามิกโดยอิงตามมิติและการวัดของการแสดงเป็นภาพ นอกจากนี้จะมีการใช้ตัวกรอง การรวม และการคำนวณตาราง Tableau ใช้ข้อมูลตามบริบทของตารางตรรกะที่แยกต่างหาก เพื่อกำหนดว่าจะใช้การรวมใดในการมอบการรวบรวมที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้หนึ่งรายสามารถออกแบบแหล่งข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบ วางแผน หรือรับผิดชอบต่อตัวแปรทั้งหมดของการวิเคราะห์ที่จะดำเนินการกับแหล่งข้อมูลโดยผู้ใช้รายอื่น Tableau Catalog ค้นพบและจัดดัชนีเนื้อหาทั้งหมดใน Tableau ซึ่งรวมถึงเวิร์กบุ๊ก แหล่งข้อมูล ชีต และโฟลว์
ผู้ดูแลข้อมูลหรือผู้เขียนที่มีสิทธิ์เข้าถึงแหล่งข้อมูลโดยตรงควรสร้างต้นแบบแหล่งข้อมูลเป็นแหล่งข้อมูลแบบฝังในเวิร์กบุ๊กของ Tableau จากนั้นสร้างแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ใน Tableau เพื่อแชร์แบบจำลองข้อมูล Tableau ที่เรียบเรียง ตามที่แสดงด้านล่างในเวิร์กโฟลว์การเข้าถึงโดยตรง
หากผู้เขียนไม่มีสิทธิ์เข้าถึงแหล่งข้อมูลโดยตรง พวกเขาจะพึ่งพา DBA หรือผู้ดูแลข้อมูลในการจัดหาแหล่งข้อมูลต้นแบบที่ฝังไว้ในเวิร์กบุ๊กของ Tableau หลังจากตรวจสอบและยืนยันว่ามีข้อมูลที่ต้องการแล้ว ผู้ดูแลไซต์หรือหัวหน้าโปรเจกต์จะสร้างแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ใน Tableau เพื่อแชร์แบบจำลองข้อมูล Tableau ตามที่แสดงด้านล่างในเวิร์กโฟลว์การเข้าถึงที่จำกัด
รายการตรวจสอบเมตาดาต้าจะแสดงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการดูแลจัดการแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ คุณสามารถใช้การกำหนดมาตรฐานข้อมูลโดยใช้รายการตรวจสอบ เพื่อดำเนินธุรกิจด้วยการเข้าถึงข้อมูลแบบบริการตนเองที่มีการควบคุม ซึ่งใช้งานง่ายและเข้าใจง่าย ก่อนที่จะสร้างการดึงข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ใน Tableau โปรดตรวจทานและใช้รายการตรวจสอบต่อไปนี้กับแบบจำลองข้อมูล Tableau
- ตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองข้อมูล
- กรองและปรับขนาดการวิเคราะห์ได้ง่าย
- ใช้รูปแบบการตั้งชื่อที่เป็นมาตรฐานและเข้าใจง่าย
- เพิ่มคำเหมือนของชื่อฟิลด์และคำแนะนำที่กำหนดเองสำหรับ "สอบถามข้อมูล"
- สร้างลำดับชั้น (เส้นทางอย่างละเอียด)
- ตั้งประเภทข้อมูล
- ใช้การจัดรูปแบบ (วันที่, ตัวเลข)
- กำหนดวันที่เริ่มต้นปีบัญชี หากมี
- เพิ่มการคำนวณใหม่
- ลบการคำนวณหรือการทดสอบซ้ำ
- ป้อนคำอธิบายฟิลด์เป็นความคิดเห็น
- รวบรวมไปยังระดับสูงสุด
- ซ่อนฟิลด์ที่ไม่ได้ใช้
เริ่มตั้งแต่เวอร์ชัน 2019.3 เป็นต้นไปในการจัดการข้อมูล ทาง Tableau Catalog จะค้นหาและจัดทำดัชนีเนื้อหาทั้งหมดใน Tableau รวมถึงเวิร์กบุ๊ก แหล่งข้อมูล ชีต และโฟลว์ การจัดทำดัชนี้ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมตาดาต้า สคีมา และความเกี่ยวพันของเนื้อหา จากนั้น Tableau Catalog จะระบุรายการทั้งหมดของฐานข้อมูล ไฟล์ และตารางที่ใช้โดยเนื้อหาบนไซต์ Tableau Server หรือ Tableau Cloud จากเมตาดาต้า การทราบว่าข้อมูลของคุณมาจากไหนเป็นปัจจัยสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล และการทราบว่ามีใครบ้างที่ใช้ข้อมูลหมายถึง คุณสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวในสภาพแวดล้อมของคุณ ฟีเจอร์ความเกี่ยวพันใน Tableau Catalog จะจัดดัชนี้ทั้งเนื้อหาภายในและภายนอก หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูใช้ความเกี่ยวพันในการประเมินผลกระทบ
เมื่อใช้ความเกี่ยวพัน คุณจะสามารถแกะรอยไปจนถึงเจ้าของเนื้อหาที่อยู่ตอนปลายของกราฟความเกี่ยวพันได้ รายชื่อเจ้าของจะรวมถึงทุกคนที่ได้รับการกำหนดให้เป็นเจ้าของเวิร์กบุ๊ก แหล่งข้อมูล หรือโฟลว์ และทุกคนที่ได้รับการกำหนดให้เป็นผู้ติดต่อสำหรับฐานข้อมูลหรือตารางในความเกี่ยวพัน หากจะทำการเปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งอีเมลให้เจ้าของเพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูใช้อีเมลติดต่อเจ้าของ
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการจัดการเมตาดาต้า
- กระบวนการจัดการดูแลแหล่งข้อมูลคืออะไร
- มีการกำหนดขนาดแหล่งข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้วหรือยัง
- มาตรฐานขององค์กรสำหรับกฎการตั้งชื่อและการจัดรูปแบบฟิลด์คืออะไร
- แบบจำลองข้อมูลของ Tableau ตรงกับเกณฑ์ทั้งหมดสำหรับการจัดการดูแลรวมถึงกฎการตั้งชื่อที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้ใช้หรือไม่
- มีการกำหนด เผยแพร่ และผสานรวมรายการตรวจสอบของเมตาดาต้าเข้ากับกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง การเพิ่มระดับ และการรับรองแล้วหรือยัง
การตรวจสอบติดตามและการจัดการ
การติดตามตรวจสอบเป็นส่วนที่สำคัญมากในโมเดลของการบริการตนเอง เนื่องจากเป็นส่วนที่ทำให้ฝ่าย IT และผู้ดูแลระบบเข้าใจว่ามีการใช้ข้อมูลอย่างไรบ้าง ดำเนินการเชิงรุก และตอบสนองต่อการใช้งาน ประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อข้อมูล และความล้มเหลวในการรีเฟรชได้ ฝ่าย IT จะใช้การผสมผสานเครื่องมือและตัวกำหนดเวลางาน เพื่อนำเข้าและตรวจสอบติดตามข้อมูลดิบและสถานะของเซิร์ฟเวอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของฐานข้อมูลในบริษัทของคุณ
ในขณะที่ผู้ใช้ธุรกิจใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นนั้น ผู้ดูแลระบบก็ได้รับอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับใช้ Tableau ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเช่นกัน เมื่อมีมุมมองเริ่มต้นของผู้ดูแลระบบและมุมมองที่กำหนดเองของผู้ดูแลระบบของ Tableau Server แล้ว ผู้ดูแลระบบ Tableau Server และไซต์จะใช้มุมมองเริ่มต้นของผู้ดูแลระบบเพื่อตรวจสอบติดตามสถานะของการรีเฟรชการแยกข้อมูล การใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูล รวมถึงการส่งมอบการสมัครรับข้อมูลและการแจ้งเตือนต่างๆ มุมมองที่กำหนดเองของผู้ดูแลระบบจะสร้างขึ้นจากข้อมูลในที่เก็บของ Tableau Server ใน Tableau Cloud ผู้ดูแลเว็บไซต์มีสิทธิ์เข้าถึงฟีเจอร์ติดตามตรวจสอบกิจกรรมในเว็บไซต์ด้วยมุมมองเริ่มต้นของผู้ดูแลระบบ และสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกของผู้ดูแลสร้างมุมมองที่กำหนดเอง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูการติดตามตรวจสอบของ Tableau และการวัดผลการมีส่วนร่วมและการปรับใช้ของผู้ใช้ Tableau
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการตรวจสอบติดตามและการจัดการ
- มีการกำหนดเวลาสำหรับเวลาที่ต้องใช้ในการรีเฟรชการแยกข้อมูลหรือไม่
- มีการติดตามตรวจสอบการนำเข้าข้อมูลดิบจากระบบแหล่งข้อมูลอย่างไรบ้าง ทำงานเสร็จสมบูรณ์สำเร็จหรือไม่
- มีแหล่งข้อมูลที่ซ้ำกันหรือไม่
- มีกำหนดเวลาให้รีเฟรชการแยกข้อมูลเมื่อใด การแยกข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ใช้เวลานานเท่าใด การรีเฟรชสำเร็จหรือล้มเหลว
- มีกำหนดเวลาสำหรับการสมัครรับข้อมูลหลังจากที่รีเฟรชการแยกข้อมูลหรือไม่
- มีการใช้แหล่งข้อมูลหรือไม่ โดยใครบ้าง เป็นอย่างไรเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับขนาดกลุ่มเป้าหมายที่คาดหวัง
- กระบวนการนำแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ที่เก่าแล้วออกคืออะไร
บทสรุปการกำกับดูแลข้อมูล
การมีความสมดุลระหว่างการควบคุมและความคล่องตัวมีความสำคัญมาก แม้จะมีนโยบายการกำกับดูแลที่เข้มงวด แต่ผู้ใช้มักจะไปตามเส้นทางของการบันทึกข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและการวิเคราะห์ในเครื่องเพื่อให้วิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ในสภาพแวดล้อมของการบริการตนเอง บทบาทของการกำกับดูแลข้อมูลคือการให้สิทธิ์เข้าถึงข้อมูลและช่วยให้ลูกค้าได้รับคำตอบที่ต้องการไปพร้อมๆ กับการตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการบังคับใช้การรักษาความปลอดภัย ถึงแม้ว่าทุกองค์กรจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ตารางด้านล่างจะอธิบายสถานะที่เหมาะสมสำหรับการกำกับดูแลการเข้าถึงข้อมูลแบบบริการตนเอง ดังนี้
ด้าน | ผู้ดูแลระบบ IT/ | ผู้เขียนเนื้อหา |
---|---|---|
การจัดการแหล่งข้อมูล | ให้สิทธิ์เข้าถึงแหล่งข้อมูลและปฏิบัติตามกลยุทธ์ นโยบาย และขั้นตอนของข้อมูลในองค์กร | กำหนด จัดการ และอัปเดตแบบจำลองข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ |
คุณภาพข้อมูล | กำหนดกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและสร้างความน่าเชื่อถือในความถูกต้องของข้อมูลสำหรับใช้ในการตัดสินใจ | บันทึกและเปิดเผยกฎการล้างข้อมูลที่ใช้กับแบบจำลองข้อมูลที่เผยแพร่ |
การเพิ่มความสมบูรณ์และการจัดเตรียม | สร้างกระบวนการ ETL จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่งเพื่อทำให้ข้อมูลพร้อมสำหรับการวิเคราะห์ | บันทึกและเปิดเผยกฎการเพิ่มความสมบูรณ์และการจัดเตรียมที่ใช้กับแบบจำลองข้อมูลที่เผยแพร่ |
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล | กำหนดพารามิเตอร์การรักษาความปลอดภัยและการควบคุมการเข้าถึงแบบจำลองข้อมูลที่เผยแพร่ | ปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลองค์กรและข้อบังคับภายนอก |
การจัดการเมตาดาต้า | กำหนดนโยบายองค์กรและกระบวนการสำหรับการจัดการเมตาดาต้า | กำหนด อัปเดต และเปิดเผยเมตาดาต้าในระดับฟิลด์สำหรับผู้ใช้ |
การตรวจสอบติดตามและการจัดการ | ตรวจสอบติดตามและตรวจสอบความถูกต้องของการใช้งานเพื่อให้แน่ใจได้ถึงการปฏิบัติตามกฎและการใช้งานสินทรัพย์ข้อมูลอย่างเหมาะสม | ตรวจสอบติดตามและติดตามเมตริกการใช้งานของแบบจำลองข้อมูลที่ได้รับการจัดการแบบรวมศูนย์ |
ในขณะที่การวิเคราะห์มีการใช้งานมากขึ้น การตัดสินใจทางธุรกิจที่มีความสำคัญมากต่อภารกิจที่มีจำนวนมากขึ้นจะกลายเป็นแบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ผลกระทบสุทธิไม่ใช่แค่ปริมาณเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ทักษะระดับต่างๆ ของผู้ใช้ที่จะทำงานร่วมกันเพิ่มขึ้นและค้นพบข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่ามากขึ้นด้วย บุคลากรที่ใช้ข้อมูลในแต่ละวันมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องสามารถรักษาความปลอดภัยและกำกับดูแลเนื้อหา Tableau ตลอดจนทำให้น่าเชื่อถือได้และจัดระเบียบได้ด้วย เพื่อให้บุคลากรสามารถค้นพบ บริโภค และสร้างเนื้อหาได้อย่างเชื่อมั่น หากไม่มีการกำกับดูแลเนื้อหา ผู้ใช้จะพบว่าการค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องการท่ามกลางเวิร์กบุ๊กและแหล่งข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง เป็นข้อมูลเก่าหรือข้อมูลซ้ำได้ยากมากขึ้น
การกำกับดูแลเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ดูแลให้เนื้อหามีความเกี่ยวข้องและเป็นปัจจุบันเสมอ เช่น การทราบว่าจะเลิกใช้เนื้อหาเมื่อใด เพราะจะไม่มีการเข้าชมเนื้อหาดังกล่าวตามที่คาดหวังหรือจะไม่มีการค้นหาสาเหตุที่ไม่มีใครใช้แดชบอร์ดที่สำคัญในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบต่อการตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลเนื้อหาขององค์กร เป็นความรับผิดชอบหลักของผู้เขียนเนื้อหา
ส่วนนี้จะมีแนวทางหลักสำหรับผู้ดูแลระบบ IT และผู้ใช้ธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวคิดที่สนับสนุนฟีเจอร์การกำกับดูแลเนื้อหาของ Tableau และคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้แนวคิดเหล่านี้จัดการเนื้อหาที่สร้างขึ้นในแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ที่ทันสมัย
การกำหนดโครงสร้างการจัดระเบียบเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกันจะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการเนื้อหาและทำให้เนื้อหาถูกค้นพบได้โดยผู้ใช้มากขึ้น Tableau Server และ Tableau Cloud มอบความยืดหยุ่นที่ต้องการในการกำหนดโครงสร้างสภาพแวดล้อมและจัดการเนื้อหาตามข้อกำหนดการกำกับดูแลที่เฉพาะเจาะจงของคุณ การกำหนดโครงสร้างไซต์ของคุณอย่างรอบคอบจะช่วยให้คุณสามารถส่งมอบการวิเคราะห์การบริการตนเองอย่างแท้จริงได้ตามขนาด และทำให้แน่ใจได้ว่ามีการใช้ข้อมูลอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ของคุณสามารถค้นพบและแชร์ข้อมูลเชิงลึกได้
โปรเจกต์
หากต้องการแชร์และทำงานร่วมกัน ผู้ใช้จะสร้างและเผยแพร่เนื้อหาไปยังโปรเจกต์ใน Tableau Server sinv Tableau Cloud โปรเจกต์เป็นคอนเทนเนอร์เริ่มต้นที่ใช้ในการจัดระเบียบและรักษาความปลอดภัยให้เนื้อหา โดยจะเก็บเวิร์กบุ๊ก แหล่งข้อมูล โฟลว์ และโปรเจกต์ที่ซ้อนกันไว้ในนั้น ซึ่งจะเป็นการสร้างโครงสร้างที่ปรับขนาดได้สำหรับจัดการการเข้าถึงเนื้อหาที่เผยแพร่ไปยัง Tableau
องค์กรไม่ได้คงที่อยู่เสมอ และวิธีการที่คุณควบคุมเนื้อหาของคุณก็เช่นกัน โปรเจกต์และโปรเจกต์ที่ซ้อนกันทำหน้าที่คล้ายโฟลเดอร์ระบบไฟล์ เพื่อให้โครงสร้างแบบลำดับชั้นที่รวบรวมข้อมูลและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ กลุ่ม และสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนถึงธุรกิจของคุณ มีเพียงผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่สามารถสร้างโครงการระดับสูงสุดได้ แต่การมอบหมายโปรเจกต์ที่ซ้อนกันให้เจ้าของโปรเจกต์หรือหัวหน้าโปรเจกต์ตามความต้องการที่เฉพาะเจาะจงนั้นจะง่ายกว่า แนวทางการจัดการเนื้อหาทั่วไป ได้แก่ องค์กร (ตามแผนก/ทีม), สายงาน (ตามหัวข้อ) หรือแบบไฮบริด (การผสมผสานระหว่างองค์กรและสายงาน) ในการวางแผนโครงสร้างเนื้อหา ทีมงาน Tableau ข้ามสายงานควรกำหนดกฎการตั้งชื่อที่สอดคล้องกันสำหรับโปรเจกต์และกลุ่มที่จะเข้าถึงได้
ตัวอย่างเช่น การปรับใช้ Tableau Server เริ่มต้น จะมีการเตรียมพร้อมให้แผนกการขาย การตลาด และ IT โดยจะมีการสร้างโครงการระดับบนสุดสำหรับแต่ละแผนกตามโครงสร้างองค์กร ผู้ใช้ในสามแผนกนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของทีมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลข้ามสายงานด้วย เนื่องจากเนื้อหาในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลครอบคลุมผู้ใช้หลายแผนก จึงจำเป็นต้องมีโปรเจกต์แยกต่างหากที่ชื่อ "การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล" ด้วย ผู้ใช้จากแต่ละแผนกที่เกี่ยวข้องจะเป็นอยู่ในกลุ่มที่มีสิทธิ์เข้าถึง ผู้ใช้และกลุ่มจะเห็นเฉพาะโปรเจกต์ที่ตนมีสิทธิ์เข้าถึง ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลกับจำนวนโปรเจกต์ที่คุณเห็นในฐานะผู้ดูแลระบบ
โปรเจกต์แซนด์บ็อกซ์และโปรเจกต์ที่ได้รับการรับรอง
จำเป็นต้องใช้โปรเจกต์แซนด์บ็อกซ์และโปรเจกต์การนำไปใช้จริงในการสนับสนุนการบริการตนเอง โปรเจกต์แซนด์บ็อกซ์มีเนื้อหาเฉพาะกิจหรือเนื้อหาที่ได้รับการรับรอง ส่วนโปรเจกต์การนำไปใช้จริงมีเนื้อหาที่ได้รับการรับรองและผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ผู้ใช้ควรทราบถึงวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันระหว่างโปรเจกต์สองประเภทนี้ ผู้เขียนเนื้อหาทั้งหมดที่มีสิทธิ์เข้าถึงโปรเจกต์แซนด์บ็อกซ์จะสามารถสำรวจข้อมูล เนื้อหาของผู้เขียน และดำเนินการวิเคราะห์แบบเฉพาะกิจได้โดยอิสระ เนื้อหาที่ได้รับการรับรองและผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของโปรเจกต์การนำไปใช้จริง หมายถึงเนื้อหาที่ได้รับความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นในระดับสูงสำหรับการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
การเผยแพร่ไปยังโครงการนำไปใช้จริงจะจำกัดเฉพาะผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง เพิ่มระดับ และรับรองเนื้อหาสำหรับตำแหน่งที่ตั้งนี้เท่านั้น ควรมอบหมายงานจัดการเนื้อหาเหล่านี้ให้ผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของโปรเจกต์และหัวหน้าโปรเจกต์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูการดูแลระบบในระดับโปรเจกต์ (Tableau Server | Tableau Cloud) บทบาทและกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง การเพิ่มระดับ และการรับรองเนื้อหาจะอธิบายไว้ในตอนท้ายของหัวข้อนี้
ไดอะแกรมด้านล่างแสดงลำดับชั้นโปรเจกต์ของแผนกการขายและโปรเจกต์แหล่งข้อมูลของแผนกการขาย ซึ่งมีแหล่งข้อมูลของทั่วทั้งแผนก โปรเจกต์ที่ซ้อนกันในโปรเจกต์ของแผนกการขายจะแมปกับพื้นที่ขาย กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ภายในแต่ละพื้นที่จะมีสิทธิ์เข้าถึงโปรเจกต์ที่ซ้อนกันในระดับพื้นที่ที่เหมาะสม เนื้อหาที่สร้างขึ้นตามพื้นที่จะอยู่ข้างโปรเจกต์ที่ซ้อนกันอยู่ภายในพื้นที่ ซึ่งจะใช้สำหรับจัดระเบียบและรักษาความปลอดภัยตามที่ต้องการ การเริ่มต้นด้วยโครงสร้างองค์กรของคุณเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการเริ่มแมปโครงสร้างเนื้อหา Tableau ของคุณ เนื่องจากแผนกต่างๆ มักจะมีการรักษาความปลอดภัย ข้อมูล และการเข้าถึงแอปพลิเคชันที่สอดคล้องกับหน้าที่งานของตนอยู่แล้ว
ตัวอย่างเกี่ยวกับทีมในแผนก เช่น แผนกการตลาดจะขยายสาขาออกไปเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับทรัพยากรที่ใช้ร่วมกัน เช่น เนื้อหาและแหล่งข้อมูลที่นำไปใช้จริงทั่วทั้งแผนก แต่จากนั้นจะล็อกทรัพยากรที่เฉพาะเจาะจงสำหรับกลุ่ม เช่น Digital ซึ่งมีโปรเจกต์นำไปใช้จริงและโปรเจกต์แซนด์บ็อกซ์ของตนเอง ลำดับชั้นของโปรเจกต์การตลาดแสดงอยู่ด้านล่างนี้
ควรจัดการสิทธิ์ที่ระดับโปรเจกต์โดยใช้โปรเจกต์และกลุ่มที่ถูกล็อกไว้ เพื่อบังคับใช้กับสิทธิ์ที่มีการกำกับดูแลในการเข้าถึงเนื้อหาและทำให้การดูแลระบบง่ายขึ้น แม้ว่าจะสามารถจัดการสิทธิ์ที่ระดับรายการด้วยโปรเจกต์ที่ปลดล็อกแล้วได้ก็ตาม แต่ไม่นานก็จะยากต่อการจัดการ โครงการที่ล็อกไว้จะรักษาความปลอดภัยให้ข้อมูลไปพร้อมๆ กับการมอบการทำงานร่วมกันข้ามโปรเจกต์เมื่อคุณต้องการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู "ใช้โปรเจกต์จัดการสิทธิ์การเข้าถึงเนื้อหา" (Windows | Linux)
การเปิดตัวโปรเจกต์ที่ซ้อนกันที่ล็อกไว้ในเวอร์ชัน 2020.1 ทำให้สามารถล็อกโปรเจกต์ได้ทุกระดับในลำดับชั้นของโปรเจกต์ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการล็อกพาเรนต์ไว้ด้วยสิทธิ์ที่ต่างกันหรือไม่ ผู้ดูแลระบบ Tableau Server และไซต์ และผู้ดูแลไซต์ของ Tableau Cloud สามารถจัดการเนื้อหาและสิทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการมอบหมายความรับผิดชอบในการจัดการเนื้อหาให้กับเจ้าของโปรเจกต์หรือหัวหน้าโปรเจกต์ที่ใกล้ชิดกับงานมากกว่า พวกเขาจะใช้โปรเจกต์ที่ซ้อนกันที่ถูกล็อกด้วยโมเดลสิทธิ์ที่ตรงกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของกลุ่มในทุกระดับในลำดับชั้น
ตรวจสอบการนำไปใช้กับโปรเจกต์ที่ซ้อนกันเพื่อล็อกโปรเจกต์ที่ซ้อนกันได้โดยอิสระจากกัน
คอลเลกชัน
คอลเลกชัน เปิดตัวในเวอร์ชัน 2021.2 พร้อมคอนเทนเนอร์ออนไลน์สำหรับเนื้อหา ลองนึกถึงคอลเลกชันในรูปแบบเพลย์ลิสต์ที่คุณจะค้นหาใน Spotify ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คุณสามารถจัดการดูแลการผสมผสานเนื้อหาที่คุณต้องการแชร์กับคนอื่นๆ ฟังก์ชันการทำงานนี้แตกต่างจากการกำหนดรายการโปรดที่คุณไม่สามารถแชร์ให้คนอื่นๆ ได้
การเริ่มใช้งานคอลเลกชันเป็นเรื่องง่ายและพร้อมใช้งานสำหรับทุกบทบาทในไซต์ของผู้ใช้ Tableau
คุณสามารถเพิ่มเนื้อหาได้เกือบทุกประเภท (เช่น เวิร์กบุ๊ก มุมมอง เมตริก แหล่งข้อมูล เป็นต้น) ไปยังคอลเลกชันจากทุกตำแหน่งในไซต์เดียว ไม่ว่าโปรเจกต์จะมีตำแหน่งอยู่ที่ใด วิธีนี้เป็นวิธีที่ยืดหยุ่นสำหรับการเตรียมความพร้อมให้สมาชิกใหม่ สนับสนุนเวิร์กโฟลว์ และแชร์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยไม่ต้องย้ายหรือทำสำเนารายการที่มีอยู่ ยังคงบังคับใช้สิทธิ์ในรายการ ดังนั้นจึงมีเฉพาะผู้ใช้ที่เหมาะสมเท่านั้นที่จะเห็นและมีสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาที่อยู่ในคอลเลกชัน
การใช้คอลเลกชันเป็นส่วนหนึ่งของกรอบงานการจัดการเนื้อหาขององค์กรมีหลายวิธีด้วยกัน ดำเนินการตามตัวอย่างข้างต้นต่อไป โดยจินตนาการว่าองค์กรของคุณมีหลายโปรเจกต์ (แผนกการขายและแผนกการตลาด) คุณต้องการทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างง่ายดายจากทั่วทั้งโปรเจกต์เหล่านี้ ดังนั้นคุณจึงสร้างคอลเลกชัน ขณะนี้ทีมสามารถทำให้เห็นภาพที่สมบูรณ์เกี่ยวกับหัวข้อได้อย่างง่ายดายจากตำแหน่งที่ตั้งเดียว
แซนด์บ็อกซ์ส่วนบุคคล
หากต้องการจัดหาตำแหน่งที่ตั้งหนึ่งๆ เพื่อให้บุคลากรทั้งหมดสามารถบันทึกงานของตนเองบน Tableau Server หรือ Tableau Cloud ได้อย่างปลอดภัย คุณควรสร้างแซนด์บ็อกซ์ส่วนบุคคลรายการเดียวเพื่อจำกัดให้เจ้าของเนื้อหาสามารถดูได้เฉพาะรายการของตนเองเท่านั้น สามารถใช้แซนด์บ็อกซ์ส่วนบุคคลสำหรับการวิเคราะห์แบบเฉพาะกิจและหรือการวิเคราะห์ที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ และซ่อนเนื้อหาที่ยังไม่พร้อมจะเปิดตัวในวงกว้าง เมื่อพร้อมแล้ว ผู้ใช้สามารถย้ายเนื้อหาของตนไปยัแซนด์บ็อกซ์ของแผนกสำหรับกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง การเพิ่มระดับ และการรับรอง แซนด์บ็อกซ์ส่วนบุคคลรายการเดียวสำหรับผู้ใช้ทั้งหมดจะลดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบโดยการลดจำนวนของโปรเจกต์ที่จะต้องรักษาความปลอดภัยและจัดการ หลังจากสร้างโปรเจกต์ระดับสูงสุดชื่อ "Personal Sandbox (แซนด์บ็อกซ์ส่วนบุคคล)" แล้ว ให้กำหนดสิทธิ์ในโปรเจกต์สำหรับ "All Users to Publish (ผู้ใช้ทั้งหมดที่สามารถเผยแพร่ได้)", None (ไม่มี) สำหรับเวิร์กบุ๊ก และ None (ไม่มี) สำหรับแหล่งข้อมูล, None (ไม่มี) สำหรับโฟลว์ และ None (ไม่มี) สำหรับเมตริก (ฟีเจอร์เมตริกแบบเดิมเลิกใช้แล้วในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 สำหรับ Tableau Cloud และใน Tableau Server เวอร์ชัน 2024.2 หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูสร้างและแก้ไขปัญหาเมตริก (เลิกใช้))
ผู้เผยแพร่มีสิทธิ์ในระดับโปรเจกต์เท่านั้น
เมื่อมีเนื้อหาของแซนด์บ็อกซ์ส่วนบุคคลในตำแหน่งที่ตั้งเดียว ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบติดตามว่ามีการดูเนื้อหาบ่อยเพียงใด ให้คำแนะนำเจ้าของว่าเมื่อใดที่ควรลบเนื้อหาเก่า และตรวจสอบว่าใครที่ใช้ประโยชน์สูงสุดจากแซนด์บ็อกซ์ส่วนบุคคล เจ้าของเนื้อหาสามารถดูเนื้อหาของตนเองได้เสมอ แม้ว่าจะเผยแพร่ไปแล้วในโปรเจกต์ที่ตนปฏิเสธความสามารถในการดูเวิร์กบุ๊กและแหล่งข้อมูลก็ตาม ส่วนถัดไปจะอธิบายเกี่ยวกับการให้สิทธิ์โดยละเอียด
ไซต์
ทั้ง Tableau Server และ Tableau Cloud ต่างก็รองรับผู้เช่าหลายรายที่ใช้ไซต์ ใน Tableau Server คุณสามารถสร้างหลายไซต์เพื่อกำหนดขอบเขตการรักษาความปลอดภัยที่แยกเดี่ยวผู้ใช้บางราย ผู้ใช้บางกลุ่ม ข้อมูลหรือเนื้อหาบางรายการบนการปรับใช้ Tableau Server เดียวกัน ผู้ใช้ของไซต์หนึ่งจะไม่มีสิทธิ์เข้าถึงไซต์อื่น ซี่งรวมถึงความสามารถในการมองเห็นการมีอยู่ด้วย เนื่องจากขอบเขตที่เข้มงวด ไซต์จึงใช้งานได้ดีเมื่อมีความจำเป็นที่ผ่านการคิดอย่างรอบคอบในการไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ทำงานร่วมกัน หรือเมื่อเนื้อหายังคงแยกกันอยู่ได้ในระหว่างเฟสของการพัฒนาทั้งหมด
ยกตัวอย่างเช่น ไดอะแกรมด้านล่างแสดงไซต์ Tableau Server สองรายการ ในตัวอย่างนี้ ผู้ใช้ที่ไม่ซ้ำกันในไซต์ 1 ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงไซต์ 2 ซึ่งรวมถึงข้อมูลและเนื้อหา ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงทั้งไซต์ 1 และไซต์ 2 จะสามาถรลงชื่อเข้าสู่ระบบได้ทีละหนึ่งไซต์เท่านั้น หากมีเนื้อหาที่ผู้ใช้ทั้งสองไซต์ต้องการใช้งาน จำเป็นต้องทำสำเนาเนื้อหาดังกล่าวไว้ในแต่ละไซต์ หรือสร้างไซต์ใหม่สำหรับเนื้อหาที่ใช้ร่วมกันให้กับผู้ใช้เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเยอะขึ้นมากในการที่จะตรวจสอบติดตาม วัดผล และบำรุงรักษา ใน Tableau Cloud อินสแตนซ์ของ Tableau คือไซต์เดียว
ไซต์สร้างขอบเขตที่เข้มงวด (ดูไดอะแกรมด้านบน)
ในตอนเริ่มแรก ไซต์ใน Tableau Server อาจดูเหมือนเป็นโครงสร้างที่มีประโยชน์สำหรับการแบ่งเซกเมนต์แหล่งข้อมูล เวิร์กบุ๊ก และผู้ใช้ แต่ขอบเขตการรักษาความปลอดภัยจะห้ามไม่ให้ทำงานร่วมกันและห้ามไม่ให้เพิ่มระดับเนื้อหาที่องค์กรส่วนใหญ่ต้องการสำหรับการบริการตนเองอย่างแท้จริงตามขนาด ด้วยเหตุนี้ จึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงความเกี่ยวพันของการใช้ไซต์แทนที่จะพิจารณาโปรเจกต์ในไซต์เดียวที่มีความรับผิดชอบในการจัดการเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เห็นภาพขอบเขตที่เข้มงวดในทั่วทุกไซต์ คุณจึงต้องสร้างแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในอินสแตนซ์ใหม่เมื่อสร้างไซต์ใหม่
ไซต์ใหม่ควรสร้างขึ้นเมื่อคุณจำเป็นต้องจัดการชุดของผู้ใช้ที่ไม่ซ้ำกันรวมถึงเนื้อหาของพวกเขาโดยแยกออกจากผู้ใช้ Tableau และเนื้อหาอื่นๆ ทั้งหมด เนื่องจากเนื้อหามีจุดมุ่งหมายที่จะไม่ให้แชร์ข้ามขอบเขต สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อใดที่ควรจะใช้ไซต์ โปรดดูภาพรวมของไซต์ (Windows | Linux)
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการจัดการเนื้อหา
- จะมีการแชร์เวิร์กบุ๊กและแหล่งข้อมูลในทั่วทั้งบริษัทหรือไม่
- จะมีการใช้ไซต์ในการแยกเนื้อหาหรือแผนกที่มีความละเอียดอ่อนหรือไม่
- โปรเจกต์จะใช้แนวทางระดับองค์กร (แผนก/ทีม), หน้าที่งาน (หัวข้อ) หรือแบบไฮบริดหรือไม่
- มีการตั้งค่าโปรเจกต์แซนด์บ็อกซ์และโปรเจกต์การนำไปใช้จริงเพื่อรองรับเนื้อหาเฉพาะกิจและเนื้อหาที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้วหรือยัง
- มีการใช้กฎการตั้งชื่อเนื้อหาหรือไม่
- ผู้เขียนเผยแพร่หลายสำเนาของเวิร์กบุ๊กเดียวกันด้วยการเลือกตัวกรองที่แตกต่างกันหรือไม่
- เนื้อหามีคำอธิบาย แท็ก และสอดคล้องกับลักษณะการแสดงผลหรือไม่
- คุณมีความคาดหวังเกี่ยวกับเวลาโหลดและกระบวนการที่เป็นข้อยกเว้นหรือไม่
- หลังจากที่พนักงานออกจากบริษัท อะไรคือกระบวนการในการกำหนดเจ้าของเนื้อหาอีกครั้ง
การให้สิทธิ์
เมื่อผู้ใช้พยายามเข้าสู่ระบบ Tableau การตรวจสอบสิทธิ์จะยืนยันตัวตนของผู้ใช้ ทุกคนที่จำเป็นต้องเข้าถึง Tableau Server ต้องปรากฏเป็นผู้ใช้ในที่เก็บข้อมูลประจำตัวของ Tableau Server (Windows | Linux) การตรวจสอบสิทธิ์ของ Tableau Cloud รองรับ Tableau, Google และ SAML ในการยืนยันข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้ การให้สิทธิ์หมายถึงวิธีและสิ่งที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ใน Tableau Server และ Tableau Cloud หลังจากที่ผู้ใช้ได้รับการรับรองความถูกต้องแล้ว การให้สิทธิ์รวมสิ่งต่อไปนี้
- สิ่งที่ผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการกับเนื้อหาที่โฮสต์อยู่บน Tableau Server และ Tableau Cloud ซึ่งรวมถึงไซต์ โปรเจกต์ เวิร์กบุ๊ก มุมมอง แหล่งข้อมูล และโฟลว์ต่างๆ
- งานที่ผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้ดูแลระบบ Tableau Server และ Tableau Cloud เช่น การกำหนดค่าเซิร์ฟเวอร์หรือการตั้งค่าไซต์ การเรียกใช้เครื่องมือบรรทัดคำสั่ง การสร้างไซต์ และงานอื่นๆ
การให้สิทธิ์ให้ดำเนินการเหล่านี้จะจัดการโดย Tableau Server และ Tableau Cloud และจะกำหนดโดยการผสมผสานประเภทสิทธิ์การใช้งานของผู้ใช้ บทบาทในไซต์ และสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับเอนทิตีที่เฉพาะเจาะจง เช่น เวิร์กบุ๊ก และแหล่งข้อมูล สิทธิ์การใช้งานตามบทบาทของ Tableau มีการกำกับดูแลในตัวแบบโดยนัย เนื่องจากความสามารถที่มีอยู่ในสิทธิ์ดังกล่าว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถที่เฉพาะเจาะจงตามสิทธิ์การใช้งานแต่ละสิทธิ์ โปรดดู Tableau สำหรับทีมและองค์กร
เมื่อคุณเพิ่มผู้ใช้เข้าไปที่ไซต์บน Tableau Server หรือ Tableau Cloud โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเภทสิทธิ์การใช้งาน คุณต้องกำหนดสิทธิ์ในไซต์ให้ผู้ใช้ด้วย บทบาทในไซต์บ่งบอกระดับสูงสุดของการเข้าถึงที่ผู้ใช้มีในไซต์
ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์การใช้งาน Tableau Creator จะมีสิทธิ์เข้าถึง Tableau Server หรือ Tableau Cloud, Tableau Desktop, Tableau Prep Builder และ Tableau Mobile บทบาทในไซต์ต่อไปนี้ใช้สิทธิ์การใช้งาน Tableau Creator
บทบาทในไซต์ | คำอธิบาย |
---|---|
ผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์ | ใช้ได้กับ Tableau Server เท่านั้น ใช้ไม่ได้กับ Tableau Cloud กำหนดการตั้งค่า Tableau Server ไซต์ทั้งหมดบนเซิร์ฟเวอร์ ผู้ใช้และกลุ่มต่างๆ รวมถึงสินทรัพย์เนื้อหาทั้งหมด เช่น โปรเจกต์ แหล่งข้อมูล (รวมถึงข้อมูลการเชื่อมต่อ) เวิร์กบุ๊ก และโฟลว์ เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ของ Tableau หรือข้อมูลภายนอกจากเบราว์เซอร์ Tableau Desktop หรือ Tableau Prep Builder เพื่อสร้างและเผยแพร่แหล่งข้อมูลและโฟลว์ใหม่ๆ รวมทั้งเขียนและเผยแพร่เวิร์กบุ๊ก |
ผู้ดูแลไซต์ในฐานะ Creator | สิทธิ์ในการเข้าถึงแบบไม่มีข้อจำกัดไปยังเนื้อหาตามที่อธิบายไว้ข้างต้น แต่แค่ในระดับไซต์ เชื่อมต่อกับ Tableau หรือข้อมูลภายนอกในเบราว์เซอร์ Tableau Desktop หรือ Tableau Prep Builder เพื่อสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ๆ รวมทั้งสร้างและเผยแพร่เนื้อหา บน Tableau Server ผู้ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์สามารถระบุได้ว่าจะอนุญาตให้ผู้ดูแลไซต์สามารถจัดการผู้ใช้และกำหนดบทบาทในไซต์และสมาชิกในไซต์ได้หรือไม่ โดยค่าเริ่มต้นใน Tableau Server และ Tableau Cloud ผู้ดูแลไซต์จะได้รับอนุญาตให้มีความสามารถเหล่านี้เสมอ นี่เป็นสิทธิ์ในการเข้าถึงระดับสูงสุดสำหรับ Tableau Cloud ผู้ดูแลไซต์มีสิทธิ์เข้าถึงการตั้งค่าการกำหนดค่าไซต์ |
Creator | เชื่อมต่อกับข้อมูลเพื่อเขียนแหล่งข้อมูลและแดชบอร์ดใหม่ๆ ซึ่งจะเผยแพร่และแชร์บน Tableau Server และ Tableau Cloud ผู้ดูแลข้อมูล (DBA หรือนักวิเคราะห์ข้อมูล) เผยแพร่แหล่งข้อมูล Creator รวมคำจำกัดความของกระบวนการ นโยบาย แนวทาง และความรู้ทางธุรกิจสำหรับการจัดการเมตาดาต้าในองค์กรโดยสอดคล้องกับข้อผูกมัดขององค์กรและ/หรือกฎระเบียบ
|
ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์การใช้งาน Tableau Explorer จะมีสิทธิ์เข้าถึง Tableau Server หรือ Tableau Cloud และ Tableau Mobile บทบาทในไซต์ต่อไปนี้ใช้สิทธิ์การใช้งาน Tableau Explorer
บทบาทในไซต์ | คำอธิบาย |
---|---|
ผู้ดูแลไซต์ในฐานะ Explorer | สิทธิ์เข้าถึงการกำหนดค่าไซต์และผู้ใช้จะเหมือนกับผู้ดูแลไซต์ในฐานะ Creator แต่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกจากสภาพแวดล้อมการแก้ไขเว็บได้ เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ของ Tableau เพื่อสร้างเวิร์กบุ๊กใหม่ๆ รวมถึงแก้ไขและบันทึกเวิร์กบุ๊กที่มีอยู่ |
Explorer (สามารถเผยแพร่ได้) | เผยแพร่เนื้อหาใหม่จากเบราว์เซอร์ เรียกดูและมีปฏิสัมพันธ์กับมุมมองที่เผยแพร่ ใช้ฟีเจอร์การมีปฏิสัมพันธ์ทั้งหมด ในสภาพแวดล้อมของการแก้ไขเว็บ สามารถบันทึกเวิร์กบุ๊กที่มีอยู่ และบันทึกแหล่งข้อมูลใหม่แบบสแตนด์อโลนจากการเชื่อมต่อข้อมูลที่ฝังอยู่ในเวิร์กบุ๊ก แต่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกและสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ได้ |
Explorer | เรียกดูและมีปฏิสัมพันธ์กับมุมมองที่เผยแพร่ สามารถสมัครรับข้อมูลเนื้อหา สร้างการแจ้งเตือนที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ของ Tableau และเปิดเวิร์กบุ๊กในสภาพแวดล้อมของการเขียนเว็บสำหรับการค้นหาเฉพาะกิจ แต่จะไม่สามารถบันทึกงานของตนเองได้
|
ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์การใช้งาน Tableau Viewer จะมีสิทธิ์เข้าถึง Tableau Server หรือ Tableau Cloud และ Tableau Mobile
บทบาทในไซต์ | คำอธิบาย |
---|---|
Viewer | ดูและมีปฏิสัมพันธ์กับตัวกรองและเนื้อหา และ Viewer สามารถรับการแจ้งเตือนที่ทริกเกอร์โดยเหตุการณ์ทางธุรกิจได้ด้วย |
ผู้ใช้ที่ถูกเพิ่มเข้าไปใน Tableau Server หรือ Tableau Cloud โดยไม่มีสิทธิ์การใช้งานจะไม่ได้รับสิทธิ์การใช้งาน
บทบาทในไซต์ | คำอธิบาย |
---|---|
ไม่มีใบอนุญาต | ผู้ใช้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์การใช้งานจะไม่สามารถลงชื่อเข้าสู่ระบบ Tableau Server หรือ Tableau Cloud ได้
|
บทบาทในไซต์ที่มีสิทธิ์ในเนื้อหาจะกำหนดว่าใครที่จะสามารถเผยแพร่ มีปฏิสัมพันธ์ หรือดูได้เท่านั้นสำหรับเนื้อหาที่เผยแพร่ ตลอดจนกำหนดว่าใครที่จะสามารถจัดการผู้ใช้ในไซต์และดูแลระบบไซต์ของตนเองได้ ทีมโปรเจกต์ควรทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดโมเดลสิทธิ์ในเนื้อหา ผู้ดูแลระบบ Tableau Server และ/หรือผู้ดูแลไซต์ จะกำหนดกฎของสิทธิ์ให้กลุ่มและล็อกไว้กับโปรเจกต์ โปรแกรมที่ล็อกไว้จะบังคับใช้กฎของสิทธิ์ในเนื้อหาทั้งหมดที่อยู่ในคอนเทนเนอร์ ซึ่งรวมถึงโปรเจกต์ที่ซ้อนกันได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูกำหนดสิทธิ์เริ่มต้นสำหรับโปรเจกต์และล็อกโปรเจกต์
Tableau มีกฎของสิทธิ์เริ่มต้นสำหรับโปรเจกต์ เวิร์กบุ๊ก และแหล่งข้อมูล หรือคุณจะกำหนดกฎของสิทธิ์ที่กำหนดเองสำหรับเนื้อหาประเภทเหล่านี้ด้วยตนเองก็ได้
เทมเพลตกฎของสิทธิ์ | คำอธิบาย |
---|---|
หัวหน้าโปรเจกต์ | ผสมผสานกับกฎของไซต์ที่เหมาะสม เพื่ออนุญาตให้ผู้ใช้หรือกลุ่มมีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการเข้าถึงโปรเจกต์ โปรเจกต์ย่อยของโปรเจกต์ และเนื้อหาที่เผยแพร่ไปยังลำดับชั้นของโปรเจกต์ดังกล่าว
|
Editor | อนุญาตให้ผู้ใช้หรือกลุ่มเชื่อมต่อ แก้ไข ดาวน์โหลด ลบ และกำหนดสิทธิ์สำหรับแหล่งข้อมูลหรือเวิร์กบุ๊กในโปรเจกต์
นอกจากนี้ยังสามารถเผยแพร่แหล่งข้อมูลได้ด้วย และหากพวกเขาเป็นเจ้าของแหล่งข้อมูลที่ตนเผยแพร่ ก็จะสามารถอัปเดตข้อมูลการเชื่อมต่อและกำหนดเวลารีเฟรชการแยกข้อมูลได้ สิทธิ์นี้เกี่ยวข้องกับมุมมองต่างๆ หากมุมมองที่พวกเขาเข้าถึงเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูล
|
ผู้เผยแพร่ | อนุญาตให้ผู้ใช้หรือกลุ่มเผยแพร่เวิร์กบุ๊กและแหล่งข้อมูลไปยังโปรเจกต์
|
ตัวเชื่อมต่อ | อนุญาตให้ผู้ใช้หรือกลุ่มเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลในโปรเจกต์
|
Viewer | อนุญาตให้ผู้ใช้หรือกลุ่มดูเวิร์กบุ๊กและมุมมองต่างๆ ในโปรเจกต์
|
ไม่มี | กำหนดความสามารถทั้งหมดสำหรับกฎของสิทธิ์เป็น "ไม่ระบุ"
|
ถูกปฏิเสธ | กำหนดความสามารถทั้งหมดสำหรับกฎของสิทธิ์เป็น "ปฏิเสธ" |
สิทธิ์ที่กำหนดเองจะช่วยให้สามารถแยกการอนุญาตเป็นส่วนย่อย ตั้งแต่การเข้าถึงหรือการดาวน์โหลดแหล่งข้อมูลไปจนถึงวิธีที่ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เผยแพร่ อินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายของ Tableau ทำให้การเชื่อมโยงผู้ใช้กับกลุ่มหน้าที่งาน การกำหนดการอนุญาตให้กลุ่ม และการดูว่าใครมีสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาใดกลายเป็นเรื่องง่าย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูกำหนดสิทธิ์ในทรัพยากรเนื้อหาระดับบุคคล หากมีการจัดการข้อมูล สิทธิ์สำหรับสินทรัพย์ภายนอกจะมีข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูจัดการสิทธิ์สำหรับแอสเซทภายนอก
คุณควรสร้างกลุ่มบนเซิร์ฟเวอร์จากในเครื่องหรือนำเข้าจาก Active Directory/LDAP และซิงโครไนซ์ตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ (Windows | Linux) ผู้ดูแลระบบ Tableau Server และผู้ดูแลไซต์ของ Tableau Cloud จะเป็นผู้กำหนดเวลาการซิงโครไนซ์ หากต้องการลดความซับซ้อนในการบำรุงรักษา ให้กำหนดสิทธิ์สำหรับกลุ่มที่ระดับโปรเจกต์ตามที่แสดงด้านล่าง สำหรับ Tableau Cloud คุณสามารถสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับการจัดเตรียมผู้ใช้และการซิงโครไนซ์กลุ่มใน Tableau Cloud ผ่านทางผู้ให้บริการข้อมูลประจำตัวภายนอกด้วย SCIM และเพิ่มหรือนำสมาชิกออกจากกลุ่มโดยใช้ REST API แบบกำหนดโปรแกรม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูการเริ่มต้นด่วนสำหรับการตั้งค่าสิทธิ์การอนุญาต กำหนดค่าโปรเจกต์ กลุ่ม และการอนุญาตสำหรับบริการตนเองที่ได้รับการจัดการ และการอ้างอิงการอนุญาต
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการให้สิทธิ์
- บทบาทขั้นต่ำในไซต์สำหรับการซิงโครไนซ์กลุ่ม Active Directory/LDAP หรือกลุ่ม SCIM คืออะไร
- คุณได้กำหนดสิทธิ์ทั้งหมดสำหรับกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมดในโปรเจกต์เริ่มต้นให้เป็น "ไม่มี" หรือยัง
- กลุ่มผู้ใช้ทั้งหมดจำเป็นต้องมีข้อจำกัดที่ชัดเจน (ปฏิเสธสิทธิ์) ในการเผยแพร่ไปยังทุกบัญชีผู้ใช้หรือไม่
- คุณได้สร้างกลุ่มที่สอดคล้องกับชุดของความสามารถในการเขียนและการดูสำหรับแต่ละโปรเจกต์หรือยัง
- คุณได้ตรวจสอบสิทธิ์ที่มีผลบังคับใช้กับผู้ใช้บางรายเพื่อทดสอบโมเดลสิทธิ์ของคุณหรือยัง
- คุณได้ล็อกสิทธิ์ในโปรเจกต์หลักเพื่อรักษาความปลอดภัยในทุกลำดับชั้นของโปรเจกต์หรือยัง
- มีการสร้างชื่อผู้ใช้/รหัสผ่านของบัญชีบริการสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่หรือยัง
การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาเป็นขั้นตอนแรกในชุดของเหตุการณ์ที่จะส่งผลให้เกิดการรับรองเนื้อหา ซึ่งก็คล้ายกับส่วนของคุณภาพข้อมูลในการกำกับดูแลข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การรวมกระบวนการต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อตรวจสอบว่าเนื้อหาดังกล่าวมีความถูกต้อง สมบูรณ์ เชื่อถือได้ มีความเกี่ยวข้อง และเป็นปัจจุบัน
บุคคลแรกที่จะตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาควรเป็นผู้เขียน ผู้เขียนควรขอความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายด้วย ซึ่งสามารถทำได้ในกลุ่มความคิดเห็นแบบไม่เป็นทางการ หรือโดยการแชร์ลิงก์ไปยังเวิร์กบุ๊กและสนับสนุนให้แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ผู้ดูแลข้อมูลยังมีหน้าที่รับรองความถูกต้อง และตรวจสอบแหล่งข้อมูลแบบฝังในฐานะที่เป็นตัวเลือกที่มีศักยภาพสำหรับการเผยแพร่และรับรอง หากฝังแหล่งข้อมูลไว้ในเวิร์กบุ๊ก ผู้ดูแลข้อมูลควรพิจารณาว่าเป็นตัวเลือกที่มีศักยภาพสำหรับการเผยแพร่และการรับรองหรือไม่ นอกเหนือจากความถูกต้องของข้อมูลและการคำนวณแล้ว การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหายังควรรวมถึงการตรวจสอบการสร้างแบรนด์ เค้าโครง การจัดรูปแบบ ประสิทธิภาพ ตัวกรอง การดำเนินการบนแดชบอร์ด และลักษณะของการทดสอบ Edge Case โดยบทบาทผู้ดูแลไซต์หรือบทบาทบนไซต์ของหัวหน้าโปรเจกต์
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
- มีใครบ้างที่เกี่ยวข้องในกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง
- เวิร์กบุ๊กถูกต้อง สมบูรณ์ เชื่อถือได้ มีความเกี่ยวข้อง และเป็นปัจจุบันหรือไม่
- เนื้อหาใหม่แทนที่เนื้อหาที่มีอยู่หรือไม่
- ข้อมูลพื้นฐานและการคำนวณถูกต้องหรือไม่
- เวิร์กบุ๊กสะท้อนการสร้างแบรนด์ของบริษัทหรือไม่
- เวิร์กบุ๊กมีเค้าโครงแบบลอจิคัลหรือไม่
- แกนและตัวเลขทั้งหมดอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือไม่
- แดชบอร์ดโหลดภายในเวลาที่มีประสิทธิภาพอันยอมรับได้หรือไม่
- ตัวกรองและการดำเนินการบนแดชบอร์ดทำงานตามที่คาดหวังในมุมมองเป้าหมายหรือไม่
- แดชบอร์ดยังคงมีประโยชน์ในลักษณะของการทดสอบ Edge Case (กรองทั้งหมด, ไม่มี, ค่าเดียว ฯลฯ) หรือไม่
การเพิ่มระดับเนื้อหา
หลังจากที่ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาแล้ว จะมีการใช้กระบวนการเพิ่มระดับเนื้อหาเพื่อเผยแพร่เวิร์กบุ๊กไปยังตำแหน่งที่ตั้งของโปรเจกต์ที่น่าเชื่อถือหรือเพิ่มการกำหนดป้ายรับรองสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่หรือไม่ ตัวอย่างเวิร์กโฟลว์ของเวิร์กบุ๊กแสดงอยู่ด้านล่างนี้
เวิร์กโฟลว์ของเวิร์กบุ๊ก
ผู้เขียนเนื้อหาจะเชื่อมต่อกับข้อมูล สร้างแดชบอร์ดใหม่ และเผยแพร่ไปยังโปรเจกต์แซนด์บ็อกซ์ ผู้ดูแลไซต์หรือหัวหน้าโปรเจกต์จะตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัติเนื้อหา เนื้อหาที่อนุมัติจะเผยแพร่ไปยังโปรเจกต์ที่นำไปใช้จริง Content Migration Tool ที่ได้รับสิทธิ์การใช้งานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ Tableau Advanced Management จะมอบวิธีง่ายๆ สำหรับการเพิ่มระดับหรือการโยกย้ายเนื้อหาระหว่างโปรเจกต์ต่างๆ บน Tableau Server คุณดำเนินการนี้ระหว่างโครงการต่างๆ บนการติดตั้ง Tableau Server ที่แยกจากกัน (ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างอินสแตนซ์การพัฒนาของ Tableau Server กับการติดตั้งผลิตภัณฑ์ด้วยการให้สิทธิ์อนุญาตที่เหมาะสมสำหรับแต่ละสภาพแวดล้อม) หรือระหว่างโปรเจกต์ต่างๆ บนการติดตั้ง Tableau Server รายการเดียว อินเทอร์เฟซผู้ใช้ Content Migration Tool จะพาคุณไปตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อสร้าง "แผนการโยกย้าย" ที่คุณสามารถใช้การทำงานครั้งเดียวหรือแบบเทมเพลตสำหรับการโยกย้ายหลายครั้งได้ หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการใช้งาน โปรดไปที่กรณีการใช้งาน Content Migration Tool
หากข้อกำหนดของ IT กำหนดให้ต้องมีสภาพแวดล้อมที่ได้รับสิทธิ์การใช้งาน 3 รายการโดยแยกจากกัน (การพัฒนา การตรวจสอบคุณภาพ และการนำไปใช้จริง) พยายามอย่าทำซ้ำวงจรการพัฒนาแบบขั้นตอนชั้นน้ำตกดั้งเดิมกับแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ที่ทันสมัย ผู้ใช้อาจเลือกสภาพแวดล้อมการตรวจสอบคุณภาพเพื่อเลี่ยงนโยบายที่เข้มงวดหรือชะลอการนำเนื้อหาไปใช้งานจริง ดังนั้นจึงสร้างสมดุลที่ดีในการทำงานได้โดยการโยกย้ายเนื้อหาไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานจริงแบบอัตโนมัติด้วยสคริปต์เวิร์กโฟลว์ที่กำหนดเองโดยใช้ REST API ของ Tableau
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการเพิ่มระดับเนื้อหา
- มีใครบ้างที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเพิ่มระดับ
- บทบาทที่เพิ่มระดับเนื้อหามีรายการตรวจสอบเกี่ยวกับเกณฑ์ที่จะประเมินหรือไม่
- คุณได้แยกอย่างชัดเจนระหว่างเนื้อหาที่ได้รับการรับรองกับเนื้อหาเฉพาะกิจโดยแบ่งตามโปรเจกต์หรือยัง
- กระบวนการมีความคล่องตัวต่อการรองรับการทำซ้ำและนวัตกรรมหรือไม่
- คุณมีเวิร์กโฟลว์สำหรับจัดการกับแหล่งข้อมูลและเวิร์กบุ๊กทั้งแบบโดยตรงและแบบจำกัดหรือไม่
การรับรองเนื้อหา
หลังจากตรวจสอบความถูกต้องและเพิ่มระดับเนื้อหาแล้ว ก็จะได้รับสถานะผ่านการรับรองและเชื่อได้ เมื่อผู้ดูแลไซต์ หัวหน้าโปรเจกต์ หรือผู้เผยแพร่ (ผู้เขียนเนื้อหาหรือผู้ดูแลเนื้อหา) ที่มีสิทธิ์ในโปรเจกต์นำไปใช้จริง เพิ่มระดับเวิร์กบุ๊กหรือแหล่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ตั้งที่กำหนด การรับรองทำให้เนื้อหาสามารถถูกค้นพบได้โดยผู้บริโภคเนื้อหา และเพิ่มความสามารถของผู้ดูแลเนื้อหาในการกำกับดูแลข้อมูลทั่วทั้งองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นใน Tableau โดยการลดการเพิ่มทวีของเวิร์กบุ๊กและแหล่งข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน
ใช้ข้อกำหนดพื้นฐานที่กำหนดไว้ในข้อพิจารณาที่สำคัญสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา เป็นเกณฑ์ในการรับรอง ผู้เขียนเนื้อหาควรมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการทำงานของกระบวนการรับรองตั้งแต่ต้นจนจบ และผู้บริโภคเนื้อหาควรทราบว่ามีการเผยแพร่เนื้อหาที่ได้รับการรับรองที่ใดบ้างในโปรเจกต์การนำไปใช้จริง ตามที่กำหนดโดยมาตรฐานการจัดการเนื้อหาของคุณ
การรับรองแหล่งข้อมูลทำให้ผู้ดูแลข้อมูลสามารถเพิ่มระดับแหล่งข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงในการปรับใช้ Tableau เป็นเชื่อถือได้และพร้อมใช้งาน แหล่งข้อมูลที่ได้รับการรับรองรับจะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษในผลการค้นหาของ Tableau Server และ Tableau Cloud และในอัลกอริทึมการแนะนำแหล่งข้อมูลอัจฉริยะของเรา เพื่อให้สามารถค้นหาได้และนำมาใช้ซ้ำได้ง่ายขึ้น
แหล่งข้อมูลที่ได้รับการรับรอง
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการรับรองเนื้อหา
- ใครที่รับผิดชอบต่อการกำหนดเนื้อหาที่ได้รับการรับรอง
- ตรงตามเกณฑ์ทั้งหมดที่จะได้รับสถานะการรับรองหรือยัง
- ป้อนข้อมูลในฟิลด์ทั้งหมดครบหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับ หมายเหตุการรับรอง แท็กต่างๆ
การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา
การใช้ประโยชน์จากเนื้อหาคือการวัดประสิทธิภาพการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่ไม่สามารถบอกเล่าภาพที่สมบูรณ์ผ่านทางมุมมอง Traffic to Views เพียงอย่างเดียว การวัดการใช้ประโยชน์จากเนื้อหาจะช่วยให้การปรับใช้ของคุณสามารถปฏิบัติงานได้ตามขนาด และพัฒนาได้ด้วยการมีความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้ใช้ที่สร้างและบริโภคเนื้อหา รวมถึงการมีความเข้าใจในคุณภาพและความเกี่ยวข้องของแดชบอร์ดและแหล่งข้อมูล เมื่อไม่มีการบริโภคเนื้อหา คุณก็จะทราบและดำเนินการขั้นตอนถัดไปที่เหมาะสมได้
ผู้ดูแลระบบ Tableau Server และผู้ดูแลไซต์ของ Tableau Cloud ควรตรวจสอบติดตามรูปแบบการใช้งานในวงกว้างด้วยมุมมองเริ่มต้นของผู้ดูแลระบบ สามารถสร้างมุมมองผู้ดูแลระบบที่กำหนดเองสำหรับข้อกำหนดที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น สำหรับ Tableau Server จะสามารถทำได้ด้วยข้อมูลในที่เก็บของ Tableau Server ใน Tableau Cloud ผู้ดูแลเว็บไซต์มีสิทธิ์เข้าถึงฟีเจอร์ติดตามตรวจสอบกิจกรรมในเว็บไซต์ด้วยมุมมองเริ่มต้นของผู้ดูแลระบบ และสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกของผู้ดูแลสร้างมุมมองที่กำหนดเอง ผู้ดูแลไซต์ควรวัดและตรวจสอบการใช้งานของเนื้อหาที่เผยแพร่ทั้งแบบได้รับการรับรองและเฉพาะกิจภายในไซต์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าการใช้ประโยชน์จากเนื้อหาเฉพาะกิจสูงกว่าการใช้ประโยชน์จากเนื้อหาที่ได้รับการรับรองเป็นอย่างมาก ก็อาจจะเกิดจากการที่กระบวนการเพิ่มระดับมีความเข้มงวดมากเกินไปหรือใช้เวลานานเกินไปจนไม่ทันความต้องการของธุรกิจ
ผู้ดูแลไซต์ควรตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากเนื้อหาในบริบทของกลุ่มเป้าหมายที่คาดหวังที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบนแท็บกรณีการใช้งานและแหล่งข้อมูลของ Tableau ของตัววางแผน Tableau Blueprint นอกจากนี้ครีเอเตอร์เนื้อหาแต่ละรายยังควรตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากเนื้อหาของตนเองในเคล็ดลับเครื่องมือแบบสปาร์กไลน์โดยการเลื่อนเมาส์เหนือภาพขนาดย่อของเวิร์กบุ๊กหรือเลือก Who Has Seen This View จากเมนู สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่การวัดผลการมีส่วนร่วมและการปรับใช้ของผู้ใช้ Tableau
ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการใช้ประโยชน์จากเนื้อหา
- แต่ละมุมมองมีปริมาณการใช้งานเป็นอย่างไร
- คำนิยามของเนื้อหาเก่าคืออะไร มีการกำจัดเนื้อหาเก่าบ่อยแค่ไหน
- มีการใช้งานโดยอ้อมมากน้อยแค่ไหน (การแจ้งเตือนและการสมัครรับข้อมูล)
- การสมัครรับข้อมูลต่างๆ ส่งมอบข้อมูลตรงเวลาหรือไม่
- ขนาดกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงตรงกับความคาดหวังหรือไม่
- เนื้อหาเป็นไปตามเทรนด์รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาสหรือไม่
- มีการเข้าสู่ระบบบ่อยแค่ไหนหรือกี่วันนับตั้งแต่การเข้าสู่ระบบครั้งสุดท้ายของกลุ่มผู้ใช้
- การกระจายขนาดของเวิร์กบุ๊กและแหล่งข้อมูลคืออะไร
บทสรุปการกำกับดูแลเนื้อหา
ตารางด้านล่างกำหนดสถานะที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มระดับและการกำกับดูแลเนื้อหาในการปรับใช้การวิเคราะห์ที่ทันสมัยและมีความก้าวหน้า
ด้าน | ผู้ดูแลระบบ IT/มืออาชีพด้าน BI | ผู้เขียนเนื้อหา |
---|---|---|
การจัดการเนื้อหา | สร้างและบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมสำหรับการจัดเก็บและการจัดระเบียบเนื้อหาที่เผยแพร่
| ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหามีความเกี่ยวข้องกับไซต์หรือโปรเจกต์ |
ความปลอดภัยและสิทธิ์ | รักษาความปลอดภัยให้เนื้อหาการวิเคราะห์และให้สิทธิ์ผู้ใช้เข้าถึงได้ในระดับที่เหมาะสมตามประเภทเนื้อหา ความอ่อนไหว และความต้องการของธุรกิจ ฯลฯ
| ปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยและสิทธิ์ในองค์กร |
การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา | กำหนดกระบวนการที่จะระบุว่าการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหานั้นถูกต้อง | เข้าถึงความสามารถของแพลตฟอร์มที่จะช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องและการยืนยันความถูกต้องของเนื้อหาการวิเคราะห์ที่ผู้ใช้สร้างขึ้น
|
การเพิ่มระดับเนื้อหา | กำหนดกระบวนการสำหรับการเพิ่มระดับเนื้อหา | เพิ่มระดับเนื้อหาในการวิเคราะห์ที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้วไปยังสภาพแวดล้อมแบบรวมศูนย์ที่เชื่อถือได้ตามที่กำหนดโดยกระบวนการกำกับดูแล
|
การรับรองเนื้อหา | กำหนดกระบวนการสำหรับการรับรองเนื้อหา | รับรองเนื้อหาว่า "เชื่อถือได้" และแยกออกจากเนื้อหาที่เชื่อถือไม่ได้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
|
การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา | วัดรูปแบบการใช้งานในวงกว้างของทุกหน่วยธุรกิจในองค์กร | วัดและตรวจสอบการใช้เนื้อหาที่เผยแพร่และติดตามการใช้เนื้อหาที่เชื่อถือไม่ได้
|